สมองกับความคิด

ในแต่ละวัน เราต้องใช้สมอง ใช้ความคิด เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย ความรู้เกี่ยวกับสมอง และความคิดต่างๆ เป็นสิ่งที่รู้ไว้ไม่เสียหลาย นะคะ ^__^

โครงสร้างทางสมองกับความคิด

สมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบการทำงานทุกชนิดของร่างกาย สมองของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณร้อยล้านล้านเซลล์ และจำนวนสมองระหว่างทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่จะไม่แตกต่างกัน แต่ในผู้ใหญ่เซลล์สมองจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และจะมีจำนวน เดนไดรต์ ของเซลล์สมองมากขึ้นทำให้การเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองมากขึ้น โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่งๆ จะเชื่อมโยงไปยังสมองส่วนอื่นๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์เพื่อส่งข่าวสารกัน โดยกระแสประสาทจะเกิดปฎิกิริยาที่เรียกว่า Synapse แล้วแต่ส่าจะเป็นด้านรับ หรือด้านส่งสัมผัสต่างๆ จึงสามารถผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้นำไปสู่การปรับตัวอย่างเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ละคน

สมองซีกซ้าย  สมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น

  1. การคิดในทางเดียว (คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)
  2. การคิดวิเคราะห์ (แยกแยะ)
  3. การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
  4. การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านและการเขียน

สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาทางวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซ๊กซ้ายยังเป็นตัวควบคุมการทำงาน การฟัง การเห็น และการสัมผัสต่างๆ ของร่างกายทางซ๊กขวา

สมองซีกขวา สมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ในเรื่องต่างๆ เช่น

  1. การคิดสร้างสรรค์
  2. การคิดแบบเส้นขนาน (คิดหลายเรื่อง แต่ละเรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกัน)
  3. การคิดสังเคราะห์ (สร้างสิ่งใหม่)
  4. การเห็นเชิงมิติ (กว้าง ยาว ลึก)
  5. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรัก ความเมตตารวมถึงสัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ต่างๆ

สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จริยธรรม อารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาการทางศิลปศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายทางซีกซ้ายด้วย

กระบวนการของการคิด

การคิดเป็นกระบวนการของจิตใจหรือกระบวนการทางสมอง ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ การคิดไม่มีขอบเขตจำกัด กระบวนการคิดของมนุษย์เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่เริ่มจากสิ่งเร้ามากระตุ้น อาจเป็นวัตถุ เสียง กิจกรรม หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งการเผชิญกับเหตุการณ์ที่สร้างปัญหา เกิดความต้องการ หรือกระตุ้นให้เกิดความสงสัย เช่น ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น มนุษย์จะรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัส เช่น ตา หู จมูก สิ้น ผิวกาย เมื่อจิตใส่ใจกับสิ่งเร้า  สมองจะเกิดการคิดโดยนำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาประมวล เพื่อให้ได้ผลของการคิดออกมา นั่นคือ มนุษย์ จะเริ่มตอบสนองด้วยการแสดงออกอาจเป็นการพูดหรือ การกระทำ เพื่อแก้ปัญหาที่พบ หรือเพื่อให้ความต้องการ ความสงสัย ลดลงหรือหมดไป ซึ่งอาจทำให้ได้แนวคิด ความรู้ ทางเลือก หรือสิงประดิษฐ์ใหม่ๆ ด้วย

 

 

 

ที่มา : คณาจารย์โปรแกรมวิชาคณอตศาสตร์แบะสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.  2552. การคิดและการตัดสินใจ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ.

 

 

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *