เอกสารทําพาสปอร์ต มีอะไรบ้าง

%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%9504

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทาง (Passport)

การเดินทางไปทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางนั้น ปัจจุบันมีสถานที่ให้บริการหลายแห่ง ทำให้ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกในการเข้าใช้บริการมากขึ้น แต่ปริมาณของคนที่ต้องการใช้บริการต่อวันก็ยังมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนสถานที่ ทำให้หลายครั้งเมื่อไปถึงต้องต่อคิวเป็นเวลานานกว่าจะได้เข้าใช้บริการ

นอกจากนี้เนื่องจากปัจจุบันทางกรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ยังเปิดให้บริการในเวลาราชการ ช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ จึงทำให้หลายคนจำเป็นต้องลางานในการเดินทางไปทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการจองคิวออนไลน์เพื่อเพิ่มความสะดวกแล้วก็ตาม

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสาร แล้วพบว่าเตรียมเอกสารมาไม่พร้อม ต้องเสียเวลาเดินทาง และลางานมาใหม่ วันนี้เราจึงได้ช่วยสรุปรายการเอกสารที่ต้องใช้ในการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางมาให้ไว้ที่นี่ เพื่อความสะดวกของทุกคนค่ะ

%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%9503

สำหรับการเตรียมเอกสารทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางนั้น ทางกรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  1. บุคคลบรรลุนิติภาวะ อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์

เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่

– บัตรประจําตัวประชาชน (บัตรประจำตัวประชาชนต้องยังมีอายุการใช้งาน และยังไม่ถูกยกเลิก)

– หนังสือเดินทางเล่มเดิม

**เฉพาะกรณีที่เคยทำหนังสือเดินทาง และยังมีอายุการใช้งานอยู่ หรือถ้าหากสูญหายก็ให้เตรียมใบแจ้งความมาแทน**

  1. ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

2.1 กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี และทำบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว

เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่

– บัตรประจําตัวประชาชน (บัตรประจำตัวประชาชนต้องยังมีอายุการใช้งาน และยังไม่ถูกยกเลิก)

– หนังสือเดินทางเล่มเดิม

**เฉพาะกรณีที่เคยทำหนังสือเดินทาง และยังมีอายุการใช้งานอยู่ หรือถ้าหากสูญหายก็ให้เตรียมใบแจ้งความมาแทน**

2.2 กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปี และยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน (บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคำร้อง)

เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่

– สูติบัตร

– บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา

– บัตรประจำตัวประชาชนของมารดา

**หากบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงแทน**

– หนังสือเดินทางเล่มเดิม

**เฉพาะกรณีที่เคยทำหนังสือเดินทาง และยังมีอายุการใช้งานอยู่ หรือถ้าหากสูญหายก็ให้เตรียมใบแจ้งความมาแทน**

  1. หนังสือเดินทางทั่วไปที่ออกให้แก่พระภิกษุ สามเณร

เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่

– หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุและสามเณร

– หนังสือเดินทางเล่มเดิม

**เฉพาะกรณีที่เคยทำหนังสือเดินทาง และยังมีอายุการใช้งานอยู่ หรือถ้าหากสูญหายก็ให้เตรียมใบแจ้งความมาแทน**

– หนังสืออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนา (มีอายุไม่เกิน 90 วัน)

– ทะเบียนบ้านหรือวัด ที่มีชื่ออยู่ ณ ปัจจุบัน ฉบับจริง และสำเนา 1 ฉบับ

– หนังสือแต่งตั้งสมณะศักดิ์

– ใบเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)

– หนังสือรับรองความประพฤติพร้อมกับให้ความยินยอมจากเจ้าอาวาสและประทับตราของวัด (กรณีสามเณร)

%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%9501

สำหรับค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางนั้น หากไม่ได้มีความต้องการใช้เร่งด่วน หรือต้องการเอกสารพิเศษเพิ่มเติม ปกติก็จะมีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 1,040 บาท (ค่าธรรมเนียมการทําหนังสือเดินทาง และค่าจัดส่ง EMS ทางไปรษณีย์)

ทั้งนี้ถ้าหากมีความต้องการใช้เร่งด่วน ก็สามารถชำระค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายในการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางเพิ่มเติมได้ตามรายการข้างล่าง ดังนี้

  1. ค่าธรรมเนียมการทําหนังสือเดินทาง 1,000 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการทําหนังสือเดินทางเล่มด่วนได้รับเล่มในวันทำการถัดไป 2,000 บาท
  3. ค่าธรรมเนียมการทําหนังสือเดินทางเล่มด่วนได้รับเล่มในวันทำการเดียวกัน 3,000 บาท
  4. ค่าธรรมเนียมการทําหนังสือเดินทางฮัจญ์ 400 บาท (หากผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์มีความต้องการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทาง (อายุหนังสือเดินทาง 5 ปี) ก็ยังต้องชำระค่าบริการ 1,000 หรือ 2,000 หรือ 3,000 แล้วแต่กรณีข้างต้น)

การขอหนังสือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ (อายุหนังสือเดินทาง 2 ปี) จะต้องมีเอกสารได้แก่

– หนังสือจากสำนักจุฬาราชมนตรี หรือหนังสือจากคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดรับรองสถานะการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์

  1. ค่าธรรมเนียมการจัดส่งไปรษณีย์ (EMS) กรณีที่ไม่อยากเดินทางมารับเอง 40 บาท
  2. ค่าธรรมเนียมการจัดส่งไปรษณีย์ (Passport Speed Post – PSP) 60 บาท

**ให้บริการเฉพาะที่กรมการกงสุล สำนักงานฯ บางนา-ศรีนครินทร์ สำนักงานฯ ปิ่นเกล้า และสำนักงานฯ มีนบุรี**

  1. ค่าธรรมเนียมการคัดสําเนาคู่มือประชาชน 30 บาท

 

หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจสามารถติดตามข่าวสารการทำพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางเพิ่มเติมได้ที่ http://www.consular.go.th/main/th/home

 

%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%9502

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำพาสปอร์ต
– ทําพาสปอร์ตวันเสาร์

– ทําพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง?

– ขั้นตอนการทำพาสปอร์ต

2 Comments

  1. 1.)บัตรประชาชนตัวจริง
    2.)ใบแจ้งความ(กรณีเล่มหาย)
    3.)เล่มเก่า/กรณีหมดอายุ/ชำรุด
    **สำหรับอายุ20ปีขึ้นไป
    ค่าธรรมเนียม1000บ./รับเล่มเอง
    *ค่าส่งsms.60บ.**
    ทำเร่งด่วน2วันได้ค่าธรรมเนียม3000บ.

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *