ปูอัดทำมาจากอะไร

มีใครชอบทานปูอัดบ้าง หลายคนคงชอบทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ เพราะรสชาติของปูอัดกำลังพอดี ไม่เค็มมากจนเกินไป แถมยังนุ่ม เคี้ยวง่าย นำไปทำได้หลายเมนู หรือว่าจะรับประทานเฉยๆก็ได้เช่นเดียวกัน ลักษณะเด่นของปูอัดที่เราได้เห็นแล้วจะสามารถรู้ได้ทันทีว่านี่คือปูอัดก็คือเรื่องของสี จะมีแถบสีขาวและแถบสีแดงคนละด้าน ขึ้นชื่อว่าปูอัดแล้วหลายคนคงมั่นใจว่ามันต้องทำมาจากเนื้อปูอย่างแน่นอน แต่วันนี้เราจะมาเฉลยให้กับคนที่ยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วที่เราเรียกกันว่าปูอัดนั้น มันทำมาจากเนื้อปลาต่างหาก ไม่ใช่เนื้อปูอย่างที่ใครๆคิดไว้

ปูอัดทำมาจากอะไร
ปูอัดทำมาจากอะไร

ปูอัด ทำมาจากเนื้อปลาที่มีสีขาว เนื้อปลาที่มีขาวทุกชนิดนำมาบดรวมกันแล้วออกมากลายเป็นปูอัดได้ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆมากมาย เริ่มจากการเตรียมปลาที่ต้องการ เนื้อปลาสีขาวก็อย่างเช่น ปลาซูริมิ ปลากะพง ปลาทรายแดง ปลาอลาสก้า ซึ่งเนื้อปลาเหล่านี้จะมีสีขาว นำมาทำปูอัดได้ นำเนื้อปลาทั้งหมดมาบดรวมกัน และหลังจากนั้นก็จะสามารถปั้นหรือแต่งให้เป็นรูปอะไรก็ได้ตามใจชอบ ส่วนหนึ่งถ้าผ่านโรงงานก็จะเอาไปทำเป็นลูกชิ้นปลา ส่วนหนึ่งก็คือนำมาทำเป็นปูอัด ซึ่งขั้นตอนการทำแต่ละขั้นตอนนั้นค่อนข้างจะละเอียดมากทีเดียว เมื่อกดแล้วก็ทำออกมาให้เป็นเส้นๆ และหลังจากนั้นก็นำมาทำเป็นแผ่นแล้วม้วนเป็นแท่งปูอัดที่เราได้รับประทานกัน และที่มันคล้ายกับเนื้อปูมากก็คือ เมื่อก่อนนั้นชาวประมงส่วนใหญ่ที่ออกเรือไปหาปลา ได้ปลามาจำนวนมาก ซึ่งมันมากเกินไป อาจจะขายออกไม่หมด กินไม่ทัน ชาวประมงก็นึกหาวิธีแปรรูปเนื้อปลาเหล่านั้นจนนำเนื้อปลาทั้งหมดมาบดให้เข้ากันแล้วแต่ลกลิ่นให้เหมือนกับเนื้อปูให้มากที่สุด ตกแต่งราติให้เข้ากับเนื้อปู ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อมีการพัฒนามาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้ก็มีการแต่งสีสันให้เหมือนกับกระดองปูด้วยการเพิ่มสีส้มสีแดงเข้าไปให้ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

หลายคนอาจจะผิดหวังเล็กน้อยเมื่อทราบว่าปูอัดที่แท้จริงเราไม่ได้ทานเนื้อปูเข้าไป แต่เราทานเนื้อปลา ซึ้งมันเป็นวิธีการแปรรูปแบบใหม่ ให้เราได้อาหารเมนูใหม่มารับประทานกัน คุณค่าทางอาหารของปูอัด ถึงแม้ว่าจะเป็นปูเทียม แต่คุณค่าทางอาหารยังคงอยู่เสมอ เพราะนั่นคือเนื้อปลาล้วนๆที่ถูกอัดเอาไว้ ทำไปทำเมนูไหนก็ได้ ทั้งทอด ย่าง ผัด ก็อร่อยได้ทุกเมนู แถมยังได้คุณค่าจากเนื้อปลาไปเต็มๆ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *