สีทะเบียนรถแต่ละสีหมายถึงอะไร มาดูกัน

ตามท้องถนนมีรถอยู่หลายประเภท และรถทุกคันที่วิ่งตามท้องถนนนั้นจะต้องมีป้ายทะเบียน จึงจะสามารถวิ่งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และหลายคนก็คงจะสงสัยและสังเกตรถที่วิ่งบนถนนว่าสีป้ายทะเบียนนั้นก็มีหลายสีแตกต่างกันไป วันนี้จันทร์ไทยบล็อกเลยทำการสอบถามข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกและแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำความรู้มาแชร์ให้เพื่อนๆได้คลายข้อสงสัยกัน จะได้รู้และเข้าใจตรงกัน ว่าสีป้ายทะเบียนรถแต่ละสีนั้นคืออะไร

1. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง

ป้ายพื้นขาวสะท้อนแสง
ป้ายพื้นขาวสะท้อนแสง

ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีดำ หมายถึง รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไปที่ไม่ใช้บรรทุก
ถ้าป้ายทะเบียนรถสีพื้นขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีน้ำเงิน จะหมายถึง รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล แต่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เป็นต้น

2. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวหนังสือสีเขียว

ป้ายทะเบียน ตัวหนังสือสีเขียว
ป้ายทะเบียน ตัวหนังสือสีเขียว

– เป็นรถบรรทุกส่วนบุคคล เราจะเห็นบ่อยๆ คือรถกระบะ จะมีป้ายทะเบียนสีนี้ แต่บางคันก็เห็นเป็นป้ายดำ เหมือนข้อที่ 1 แสดงว่าตอนจดทะเบียน จดเพื่อเป็นรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลเท่านั้น หากใช้ในการบรรทุกเมื่อไหร่ ตำรวจก็สามารถเอาผิดได้

3. ป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลืองสะท้องแสง ตัวหนังสือสีดำ

ป้ายเหลืองอักษรดำ
ป้ายเหลืองอักษรดำ

– สำหรับรถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสานได้ไม่เกิน 7 คน หรือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง จะใช้ป้ายสีนี้

4. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีแดง

ป้ายเหลืองอักษรแดง
ป้ายเหลืองอักษรแดง

– รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

5. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีน้ำเงิน

ป้ายเหลืองอักษรน้ำเงิน
ป้ายเหลืองอักษรน้ำเงิน

– รถยนต์ 4 ล้อเล็กรับจ้าง

6. ป้ายทะเบียนรถสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษรสีสีเขียว

ป้ายเหลืองอักษรเขียว
ป้ายเหลืองอักษรเขียว

– รถสามล้อรับจ้าง

7. ป้ายทะเบียนรถสีขาว ตัวอักษรสีดำ

ป้ายทะเบียนมอเตอร์ไซต์
ป้ายทะเบียนมอเตอร์ไซต์

– รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คล้ายกับข้อ 1 แต่การวางตำแหน่งของเลขทะเบียนจะแตกต่างกัน สำหรับจักรยานยนต์จะแบ่งอักษรหมวด หมายเลข และ จังหวัด ไว้คนละบรรทัดกัน ส่วนของรถยนต์ หมวดอักษร กับหมายเลขจะอยู่แถวเดียวกัน

8. ป้ายทะเบียนรถสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว/ดำ

ป้ายทะเบียนรถสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว
ป้ายทะเบียนรถสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว

– รถยนต์ประเภท ป้ายทะเบียนรถบริการธุรกิจ รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า

9. ป้ายทะเบียนรถสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษรใช้สีดำ

ป้ายทะเบียนรถสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษรใช้สีดำ
ป้ายทะเบียนรถสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษรใช้สีดำ

– สำหรับรถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม

10. ป้ายทะเบียนรถพื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวอักษรเป็นสีดำ

ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต
ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต

ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วถึงจะเป็นเลขทะเบียนรถ

11. ป้ายทะเบียนรถ ป้ายเป็นสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว

ป้ายทะเบียนรถ ป้ายเป็นสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว
ป้ายทะเบียนรถ ป้ายเป็นสีฟ้าไม่สะท้อนแสง ตัวอักษรเป็นสีขาว

– รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ใช้อักษร พ ของคณะผู้แทนทางกงศุล ใช้อักษร ก ถ้าเป็นส่วนทะเบียนรถของ องค์การระหว่างประเทศ หรือ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ จะใช้อักษร อ แล้วค่อยตามด้วยหมายเลขทะเบียนรถ

12. ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นกราฟิก

ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นกราฟิก
ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นกราฟิก

– เป็นป้ายทะเบียนรถที่มีการประมูล

13. ป้ายแดง หมายถึงอะไร

ป้ายแดง
ป้ายแดง

– สำหรับป้ายแดงนั้น คือป้ายหรือแผ่นป้ายที่ออกให้ทดแทน ซึ่งตามหลักแล้ว ป้ายแดงจะถูกนำมาใช้กับรถยนต์ที่ยังไม่ได้รับการรับรองด้วยการจดขึ้นทะเบียนเรียบร้อยตามกฎหมาย ซึ่งป้ายดังกล่าวนั้นออกมาเพื่อกำกับเบื้องต้นให้รถคันดังกล่าวสามารถใช้งานบนถนนได้ชั่วคราว แต่ก็ต้องอยู่ในวงจำกัดและข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบกที่เคร่งครัดและต้องปฏิบัติตาม

ทีนี้ก็พอจะรู้ความหมายของป้ายทะเบียนรถแต่ละสีแล้วใช้มั้ยครับ ว่าป้ายแต่ละสีนั้นหมายถึงอะไร หากเพื่อนๆเห็นว่าบทความของเราเป็นประโยชน์ก็อย่าลืมแชร์บทความนี้ให้เพื่อนๆของเรา ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook , Twitter หรือ อีเมล เพื่อเป็นกำลังใจทีมงานได้นำเรื่องราวดีๆมาแชร์ที่นี่ครับ

4 Comments

  1. รถทุกชนิดที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใช้แทนรถบรรทุกส่วนบุคคลได้ และที่จดเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลใช้แทนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้ครับ ตามพรบ.รถยนต์มาตรา3ทวิ(1) เรื่องการใช้รถยนต์ผิดประเภท ถ้าตำรวจจับอย่ายอมเสียค่าปรับ บอกว่าขอสู้คดีไม่ต้องประกันตัวไม่เสียค่าทนายไม่เสียค่าปรับ แต่ตร.อาจจะรีบยกเลิกใบสั่งให้มากกว่า

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *