แมงกระพรุน…ผู้ให้แสงสว่างแห่งมหาสมุทร

คุณเคยเห็นแมงกระพรุนหรือเปล่าคะ หลายคนคงคิดถึงฝูงสัตว์เรืองแสง รูปร่างคล้ายร่มที่ว่ายน้ำอย่างสง่างามในมหาสมุทร แต่อีกหลายคนอาจคิดถึงส่วนประกอยอาหารจีนรสอร่อยตามโอกาสพิเศษต่างๆ อย่างไรก็ตาม แมงกระพรุนนั้นเป็นมากกว่าอาหารทะเลชนิดหนึ่งในสายตาของวงการวิทยาศาสตร์ ถึงขนาดที่การศึกษาเรื่องโปรตีนเรืองแสงในแมงกระพรุนนั้น ได้รับรางวัลในเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 2008 เลยทีเดียว ในคอลัมน์นี้ เราจะมาตามรอยการค้นพบที่ทำให้เจ้าสัตว์น้ำเรืองแสงชนิดนี้กลายเป็นสัตว์ยอดนิยมในโลกวิทยาศาสตร์กันค่ะ

โปรตีนเรืองแสงในแมงกระพรุน นั้นถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 ในแมงกระพรุน สปีชีส์ Aequorea victoria ซึ่งพบที่ชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อโปรตีนเหล่านี้ได้รับแสงเหนือม่วง (อัลตราไวโอเลต) มันจะเรืองแสงสีเขียวออกมา ซึ่งเป็นชื่อที่มาของ Green Fluorescence Protein (GFP) ของมัน ความสำคัญของ GFP นั้นเป็นที่ประจักษ์แกวงการนักวิทยาศาสตร์ ในช่วง 30 ปีให้หลัง เมื่อมันถูกใช้เป้นสัญญาณเรืองแสงที่เชื่อมกับโปรตีนชนิดอื่น เพื่อทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นและติดตามการเคลื่อนที่ของโปรตีนเหล่านั้นในเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ หลังจากนั้น GFP ก็ได้รับการลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพื่อให้เรืองแสงได้หลากหลายสี ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนตามสีที่ต่างกันในงานวิจัยเกี่ยวกับโรคหลายชนิดที่เกิดกับมนุษย์ รวมถึงโรคไข้หวัดนก โรคอัลไซเมอร์ และโรคมะเร็ง

การค้นพบโปรตีน GFP ในแมงกระพรุนนั้น ไม่เพียงจะสอนให้เรารู้ถึงพลังแห่งความช่างสังเกตและความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ ผู้เริ่มงานวิจัยจนได้รับรางวัลโนเบลท่านั้นแต่ยังสอนให้เรารู้ถึงความมหัศจรรย์ในสิ่งที่ธรรมชาติออกแบบมาอีกด้วย แม้ว่าแมงกระพรุนจะเป็นเพียงสัตว์โลกที่ล่องลอยอยู่ในทะเล  แต่มันก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าตัวมันไม่ได้เป็นเพียงผู้ส่องแสงในมหาสมุทรเท่านั้น แต่มันยังให้แสงสว่างแก่โลกวิทยาศาสตร์อีกด้วยค่ะ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *