5 อาการ…ปวดหัวของคนทำงาน

โรคปวดศีรษะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชาชนทั่วไปจากการศึกษาทางสถิติพบว่า โดยเฉลี่ยผู้ชายร้อยละ 93 และผู้หญิงร้อยละ 99 ต่างเคยมีอาการปวดศีรษะในช่วงชีวิตแม้ว่า อาการปวดศีรษะของคนโดยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ต่ยังมีคนอีกไม่น้อยที่อาการปวดหัวมีอาการรุนแรงและเรื้อรังทำให้มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

สาเหตุของการปวดศีรษะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุโดยในคนสูงอายุจะมีโอกาสเกิดโรคที่มีสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดอักเสบ มากกว่าวัยรุ่นและวัยทำงานซึ่งมักมีสาเหตุเกิดจากโรคไมเกรนโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว และโรคปวดศีรษะจากความเครียด อย่างไรก็ตามในวัยทำงานซึ่งถือว่าเป็นวัยที่มีภาระและความรับผิดชอบสูงหากมีโดรคปวดศีรษะมารบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันก็เหมือนกันฝันร้ายในขณะตื่นเลยทีเดียว

โรคปวดศีรษะชนิดใดที่พบบ่อยในวัยทำงาน

  1. โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว เราอาจเคยได้ยินบางคนบ่นว่ามีอาการ ปวดมึนๆ ตึงๆที่ศีรษะหลังจากทำงานหนัก พักผ่อนน้อย หรือมีความเครียด โดยอาการเหล่านี้เป้นสัญญาณว่าคุณกำลังมีอาการของ โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุด คำว่า ตึงตัว บ่งชี้ถึงลักษณะอาการของโรคปวดศีรษะชนิดนี้คือ  มีลักษณะปวดตึง บีบรัดศีรษะ ลักษณะนำหมวกคับๆ มาสวม อาการปวดมักพบร่วมกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหัวไหล่ รวมถึงอาการปวดกระบอกตาและอาการมึนศีรษะ โดยอาการมักบรรเทาได้ด้วยการนวดบริเวณที่ตึง อาการปวดมักมีระดับไม่รุนแรงและไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพักหรือหยุดงาน อาการปวดมักบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป เช่น พาราเซนตามอล อย่างไรก็ตามแม้ว่าอาการปวดจะไม่รุนแรงแต่ผู้ป่วยที่ปล่อยให้เกิดอาการปวดเรื้อรังจะทำให้ยากต่อการรักษาและมีผลต่อสุขภาพจิตนอกจากนี้ในผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นประจำอาจนำไปสู่การติดยาแก้ปวดได้

เนื่องจากอาการปวดมักมีความสัมพันธ์กับความเครียดทำให้มีความเชื่อว่าสาเหตุของโรคเกิดจากความเครียด แต่จากการศึกษาพบว่า ความเครียดไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง แต่เป็นเพียงปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น ในปัจจุบันแม้ว่าได้มีการศึกษาค้นคว้าสาเหตุของโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวมาเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุของอากรปวดศีรษะชนิดนี้อย่างแน่ชัด

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาและการป้องกันโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว ได้แก่การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดโปร่ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  นอกจกานี้เนื่องจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและหลังศีรษะมีความเกี่ยวพันกับการนั่งหรือนอนอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการนั่งหรือนอนให้อยู่ในท่าที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจึงบรรเทาอาการและป้องกันอาการปวดศีรษะได้ อาการตึงจัวของกล้ามเนื้อสามารถบรรเทาได้ด้วยการนวดหรือประคบด้วยกนะเป๋าน้ำร้อน ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกแล้วยังลดผลข้างเคียงของยาแก้ปวดได้อีกด้วย

2. โรคไมเกรน โรคปวดศีรษะ ที่พบบ่อยรองลงมาได้แก่ “โรคไมเกรน” ถึงแม้ว่าโรคไมเกรนจะเป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้น้อยโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัว แต่ผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะที่มความรุนแรงและมีผลกระทบต่อการทำงานมากกว่า เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ประสาทสัมผัสของผู้ป่วยไมเกรนจะเพิ่มความไวในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เสียง แสง กลิ่น ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นชั้นยอดที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ร่างกายต้องพักจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะเลวร้ายมากขึ้น ตึงถือได้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่เป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน อย่างแท้จริง นอกจากนี้โรคไมเกรนยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดง่าย การนอนผิดปกติ ซึ่งยิ่งซ้พเติมทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงไปอีก

เนื่องจากโรคไมเกรนมีผลต่อการหดและขยายตัวของหลอดเลือดสมอง ผลของโรคไมเกรนจึงไม่ได้ทำให้เกิดแค่อาการปวดศีรษะเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออัมพาตอีกด้วย จากการศึกษาโดยนายแพทย์  Markus Schurks จาก Brigham and Woman’s Hospital ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา พบว่า ในผู้ป่วยไมเกรนชนิดออร่าเรื้อรัง (ผู้ป่วยจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงก่อนหรือขณะปวดศีรษะ) จะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ผลจากการศึกษาทำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนต้องตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาโรคไมเกรนและการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้

การรักษาโรคไมเกรน

หลักการรักษาโรคไมเกรนที่สำคัญที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะซึ่งได้แก่กลิ่นฉุน แสงจ้า เสียงดัง อากาศหนาวหรือร้อนจนเกินไป นอนผิดเวลา นอนมากหรือน้อยเกินไป ความเครียด อาหารบางชนิด เช่น เนื้อที่ผ่านการถนอมอาหาร เนย เป็นต้น อย่างไรก้ตามถ้าอาการปวดศีรษะมีอาการที่รุนแรงหรือความถี่มากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการแนะนำและการรักษาในขั้นต่อไป

3. อาการปวดศีรษะจากความเครียด ในปัจจุบันท่ามกลางสังคมแห่งการแข่งขัน ปัญหาทั้งเรื่องเศษฐกิจ การงานปัญหาครอบครัว รวมไปถึงเรื่องการเมือง เป็นบ่อเกิดของความเครียดที่เพิ่มขึ้นในสังคม มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการปวดศีรษะร่วมกับความเครียด โดยเราได้ยินกันเป็นประจำกับคำว่า “เครียดจนปวดหัว” แต่ในความเป็นจริงแล้วคงมีหลายคนสงสัยว่า ความเครียดสามารถเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้จริงหรือ และถ้าเรากำจัดความเครียดออกไปได้แล้วอาการปวดศีรษะจะหายไปหรือไม่ ความเครียดมีความเกี่ยวพันกับอาการปวดศีรษะได้หลายแง่มุม หากความเครียดเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะโดยตรง เรียกโรคปวดศีรษะชนิดนี้ว่า “โรคปวดศีรษะจากความเครียด” อีกกรณีหนึ่งคือความเครียดไม่ได้ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะโดยตรง แต่เป็นเพียง “ปัจจัยกระตุ้น” ให้อาการปวดจากโรคปวดศีรษะชนิดอื่นๆ กำเริบรุนแรงมากยิ่งขึ้น โรคปวดศีรษะที่ความเครียดป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ โรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวและโรคปวดศีรษะไมเกรนในทางการแพทย์การวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะที่มีความเกี่ยวพันกับความเครียดทั้งสองกรณีออกจากกันมีความสำคัญในแง่การรักษาและพยากรณ์โรคในระยะยาว

การหลีกเลี่ยงและการรักษา

โรคปวดศีรษะจากความเครียดมีลักษณะการปวดได้หลายชนิด แต่อาการปวดมักไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตึง มึนศีรษะ หรือบางรายมีอาการปวดตุบๆเหมือนอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยไมเกรน หลักเกณฑ์ในการให้การวินิจฉัยคือ ผู้ป่วยต้องมีความเครียดในระดับสูงมากพอที่จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาการที่แสดงถึงความเครียดในระดับสูง ได้แก่ กระวนกระวาย อ่อนเพลียง่าย สมาธิสั้น กล้ามเนื้อตึงตัว มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน และมีความเครียดที่ยากต่อการควบคุม การรักษา ได้แก่ ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด หรืออาจพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการผ่อนคลายความเครียด ซึ่งโรคปวดศีรษะชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้

ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเคีรยดเป็นตัวกระตุ้น การรักษานอกจากจะลดความเครียดแล้ว ยังต้องรักษาโรคศีรษะที่เป็นอยู่ด้วย เช่น หากเป็นโรคไมเกรนอาจต้องใช้ยารักษาโรคไมเกรนควบคู่ไปกับการลดความเครียด เป็นต้น

4. โรคปวดศีรษะกับการใช้คอมพิวเตอร์ ในยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานจนเราจินตนาการได้ยากว่าการทำงานโดยปราศจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร ในแต่ละวันเราต่างใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์

เมื่อเราจดจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวาลานาน แสงส่วางของจอมีผลทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดการเกร็งตัว นอกจากนี้จอภาพยังมีผลทำให้สมองส่วนการรับภาพต้องทำงานหนักและทำให้เกิดภาวะเครียดและอาการมึนศีรษะตามมา อาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานได้แก่ อาการปวด ศีรษะ มึนเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา ปวดหรือหนักกระบอกตา การมองพร่ามัว นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในระยะเวลานานมีวคามสัมพันธ์กับการเกิดโรคต้อหินอีกด้วย

วิธีการหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ได้แก่ ปรับความว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยทั่วไปความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรเท่ากับความสว่างของสิ่งแวดล้อมที่ทำงาน การใช้ฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอหรือการใส่แว่นตาที่มการเคลือบกันแสงสะท้อนจากหน้าจอ (antireflective [AR] coating) การเช็กสายตาอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากปัญหาทางสายตา เช่น สายตาสั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น การบริหารดวงตาโดยการละสายตาจากคอมพิวเตอร์และกรอกตาไปมาเป้นเวลา 10 – 20 นาที  ทุกๆ 20 นาที ของการใช้คอมพิวเตอร์การกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการตาแห้งและระคายเคืองสายตา เพียงเท่านี้ก้ทำให้การทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ไม่สร้างความเครียดให้สมองและสายตามากนัก

5. โรคปวดศีรษะจากผลของคาเฟอีน เครื่องอื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลังน้ำอัดลม เป็นที่นิยมอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ไปแล้ว จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ประชาชนทั่วไปดื่มกาแฟโดยเฉลี่ยมากถึง 2.5 แก้วต่อวัน ซึ่งคาแฟอีนที่เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่มจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาททำให้ร่างกายและสมองเกิดความตื่นตัวไม่ง่วงนอน กระตุ้นระบบหัวใจและหลอดเลือด มีผลให้ร่างกายทนต่อการทำงานได้มากขึ้น

ผลของคาแฟอีนต่อสมองและหลอดเลือดมีความเกี่ยวพันกับโรคปวดศีรษะหลายชนิดทั้งในด้านบวกและด้านลบ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของคาเฟอีนได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดศีรษะฉับพลันของโรคไมเกรน แพทย์บางท่านแนะนำว่า เมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน การดื่มกาแฟสักหนึ่งแก้วสามารถทำให้ทุเลาลงได้ อย่างไรก้ตามแม้ว่าคาเฟอีนสามารถระงับอาการปวดศีรษะไมเกรนฉับพลัน แต่การบริโภคคาเฟอีนติดต่อกันเป้นระยะยาว ไม่ว่าจากการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนเป็นประจำ จะทำให้สมองเกิดการดื้อต่อคาเฟอีนและเกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาต้านไมเกรน ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไมเกรนหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ หากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณมากยังมีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย สมาธิสั้น ซึ่งทำให้กระตุ้นโรคปวดไมเกรน และโรคปวดศีรษะชนิดตึงตัวทางอ้อมอีกด้วย

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเป็นระยะเวลานาน ร่างกายและสมองจะเกิดการปรับตัวให้เกิดสภาวะติดคาเฟอีน ซึ่งทำให้เมื่อหยุดดื่มคาเฟอีนจะมีอาการปวดศีรษะ เรียกโรคปวดศีรษะนี้ว่า “โรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีน” (caffeine withdrawal headache) โดยโรคปวดศีรษะจากการขาดคาเฟอีนจะเกิดขึ้นในคนที่บริโภคคาเฟอีนอย่างน้อย 200 มิลลิกรัมต่อวัน (ปริมาณเท่ากับกาแฟ 2 แก้ว หรือชา 4 แก้ว ) ซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆทุเลาเมื่อระยะเวลาผ่านไปหลังหยุดบริโภคคาเฟอีนเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

เนื่องจากอาการปวดศีรษะที่พบได้ในวัยทำงานมีความหลากหลาย สิ่งที่สำคัญคือ การสังเกต และเอาใจใส่ต่ออาการและสภาพแวดล้อมที่อาจมีส่วนกระตุ้นอาการปวดศีรษะ การละเลยที่จะค้นหาถึงสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่แท้จริงและทำให้การรักษาล่าช้าตั้งแต่ระยะแรก อาจทำให้โรคปวดศีรษะมีวคามยากต่อการรักษา และหลายคนอาจต้องบ่นออกมาว่า รู้อย่างนี้ รักษาตั้งแต่แรกก็ดี ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวัยทำงานและกำลังมีอาการปวดศีรษะ คุณได้สำรวจอาการปวดของคุณแล้วหรือยัง

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *